Last updated: 6 ก.ค. 2566 | 994 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
แนะนำเทคนิคดูแลรอยแตกลาย: รักษาผิวแตกลายด้วยเทคนิคเลเซอร์ Discovery Pico Laser + Fractional Ablative Laser + Exosomes
(Discovery Pico Laser + Fractional Ablative Laser + Exosome for Stretch Mark Treatment) https://youtu.be/oeHTKCPtjiY
ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยนะครับ
หมอใช้เทคนิคการดูแลรอยแตกลายด้วยการใช้สองเลเซอร์ ซึ่งมีกลไกการกระตุ้นคอลลาเจนแตกต่างกันครับ : Discovery Picosecond Laser จะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนด้วยการทำให้เกิดโพลง LIOB (Laser induced optical breakdown)ในชั้นผิว + Fractional Ablative Laser ซึ่งทำให้เกิดพลังงานความร้อน MTZ (Microthermal Zones) มาฝากกันครับ
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
รอยแตกลายหรือผิวแตกลาย (Stretch Mark หรือ Striae) เกิดจากการยืด-ขยายอย่างรวดเร็วของผิวหนังและเนื้อเยื่อ เช่น จากการตั้งครรภ์ นํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โครงสร้างคอลลาเจนถูกทำลาย จนเกิดรอยแตกลายบริเวณต่างๆ ซึ่งผิวแตกลายนั้น
•มักจะเกิดขึ้นที่ผิวหนังชั้นกลาง และเกิดในบริเวณที่มีไขมันสะสมอยู่มาก เช่น บริเวณหน้าท้อง หน้าอก เต้านม สะดือ ต้นแขน ต้นขา สะโพก รักแร้ และน่อง
•ส่วนมากจะเจอปัญหานี้ตอนเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น เพราะเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต หรือเกิดจากการมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วจนผิวหนังขยายตามไม่ทัน*
•และปัญหาผิวแตกลายในสตรีตั้งครรภ์มากถึง 90% เพราะครรภ์โตจนทำให้หน้าท้องและขาอ่อนแตกลาย*
Plast. Reconstr. Surg. 148: 77, 2021.
อาการเริ่มแรกของผิวแตกลาย คือ ผิวหนังจะเกิดรอยเป็นเส้นสีแดงหรือม่วง Striae rubes (ระยะแรก) และจะมีสีอ่อนลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีขาวขุ่น Striae alba (ระยะหลัง)
•โดยรอยแตกลายจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆดังนี้
1.Striae distensae มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานจากการยืด
2.Striae atrophicans มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานโดยมีอาการผิวฝ่อ
3.Striae rubra มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานสีแดง*
4.Striae alba มีลักษณะเป็นลายเส้นขนานสีขาว*
ลักษณะจากการตรวจชิ้นเนื้อพบผิวชั้นนอก Epidermis มีการฝ่อตัวลง ชั้นหนังแท้ dermis มีการฝ่อความหนา ลดลงมีคอลลาเจนและ extracellular matrix ลดลง เส้นใยอีลาสติน elastic fiber ลดลงในส่วนกลางของรอยโรค
วิธีการดูแลผิวแตกลาย
• พยายามไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว : โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างวัยรุ่น ผู้ออกกำลัง และหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กำลังจะลดน้ำหนัก
• ทาครีมบำรุง หรือครีมลดรอยแตกลายเป็นประจำ : เน้นการทาครีมบำรุงที่มีความเข้มข้นสูงในบริเวณผิวแตกลายทุกวันเป็นประจำก่อนนอนและในตอนเช้า หรือทาทุกครั้งหลังอาบน้ำ และอย่าปล่อยให้บริเวณที่ผิวแตกลายแห้งเป็นอันขาด เพราะมันอาจจะลุกลามกว้างขึ้นได้ สารที่มีการศึกษาเช่น Hyarulonic acid, สารสกัดจากใบบัวบก Centella, วิตามิน C Ascorbic acid ซิลิโคน เป็นต้นครับ
***ยาทาดูแลผิวแตกลาย : เป็นยาทาในกลุ่มอนุพันธ์กรดวิตามินเอ ที่แนะนำคือ Tretinoin เช่น เรตินเอ (Retin A) ให้เลือกใช้ความเข้มข้น 0.025% หรือ 0.05% หลังเช็ดตัวให้แห้ง รอให้แห้งสนิทสักประมาณ 10 นาที นำมาทาบริเวณผิวที่เป็นรอยแตก ก่อนเข้านอนและทำวันเว้นวัน***
•การใช้การรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคลินิกที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้
•รักษาด้วยทรีตเมนต์ : แบ่งออกเป็น การกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Microdermabrasion) / การผลัดเซลล์ด้วยกรดผลไม้ (Chemical Peel) (ให้ผลการรักษาประมาณ 10-20%) / การรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (ให้ผลการรักษาประมาณ 20-40%) ได้ผลไม่มากหมอไม่ค่อยแนะนำครับ
* รักษาด้วยวิธี Dermaroller : ช่วยทำลายพังผืดที่หลุมบนผิวหรือรอยที่เป็นปัญหา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ผิวหนัง และโดยมากแล้วจะนำมาใช้ควบคู่ไปกับตัวยาหรือเซรั่มบำรุงผิว แต่ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 2 สัปดาห์ ติดต่อกัน 5-6 ครั้ง จึงจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลง ได้ผลไม่มากหมอไม่ค่อยแนะนำครับ
•รักษาด้วยวิธีแสงความเข้มข้นสูง IPL Intensed Pulsed Light : เทคนิคการใช้แสงความเข้มสูง นำมายิงบริเวณผิวที่เป็นรอยแตก แต่วิธีนี้จะได้ผลดีกับรอยแตกในระยะแรกที่มีสีแดง* และต้องทำอย่างน้อย 5 ครั้ง (ห่างกันครั้งละ 2 สัปดาห์) ให้ผลรอยแตกลายจางลงประมาณ 30-50% ขึ้นอยู่กับระยะของรอยแตกที่เป็น เหมาะในรายที่รอยแตกลายยังมีสีแดงอยู่
•รักษาด้วยวิธีการ Carboxytherapy : การฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในบริเวณที่ต้องการ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวทำให้ผิวตึงกระชับขึ้น และยังช่วยสลายเซลล์ไขมันส่วนเกินในบริเวณที่ต้องการได้อีกด้วย โดยอาศัยเทคนิคการฉีดก๊าซที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการฉีดตื้น ๆ เข้าไปเพียงชั้นหนังแท้ตามแนวร่องแตกลายผิวหนัง แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องทำอย่างน้อย 3-5 ครั้ง ติดต่อกันทุก ๆ 1 สัปดาห์ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลประมาณ 30-60% หรืออาจจะไม่ได้ผลเลยในบางราย เป็นวิธีการดูแลรักษาเก่าปัจจุบันเลเซอร์ได้ผลดีกว่าครับ
เลเซอร์รอยแตกลาย : แบ่งออกเป็น
- เลเซอร์แบบช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ปรับสีรอยแตกลายให้ใกล้เคียงกับสีผิวปกติ เช่น long pulsed nd yag (Coolglide) , erbium glass laser (Fraxel, Finescan), ++
- เลเซอร์สร้างผิวใหม่ Fractional Ablative Laser เช่น Fractional Carbondioxide Laser, Fractional Erbium laser +++
- เลเซอร์แบบรักษารอยแดงหรือรักษาความผิดปกติของเส้นเลือด เหมาะสำหรับรอยแตกลายที่มีสีแดง เช่น Pulsed dye laser PDL (Vbeam) +++
- Picosecond Laser เป็นเทคโนโลยีที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของ วงการเลเซอร์ผิวหนังเพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องกำจัดเม็ดสีแล้ว ยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใหม่ โดยไม่เกิดการสะสมพลังงานความร้อน จึงไม่กระทบผิวข้างเคียง และใช้เวลาในการรักษาน้อยกว่าเครื่องเลเซอร์รุ่นเดิม++++
•ช่วยผลัดเซลล์ผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ใต้ชั้นผิว
•หลังทำ ไม่มีแผลตกสะเก็ด ไม่ต้องพักฟื้น และเจ็บน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องเลเซอร์รุ่นอื่นๆ รวมทั้งไม่มีผลข้างเคียงเหมือนการรักษาด้วยเลเซอร์รุ่นเดิมๆ
• ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ใต้ชั้นผิว ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ เนื้อเยื่อบริเวณรอยแตกลายให้เรียบเนียน ช่วยให้ผิวแข็งแรง
•ซึ่งการรักษาด้วยเลเซอร์ สามารถรักษาได้ทั้งรอยแตกลายในระยะแรก-ระยะหลัง และการรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลประมาณ 40-60%
•การใช้คลื่นวิทยุ RadioFrequency device เช่น Ematrix, InfiniRF Microneedle +++
•การใช้เกล็ดเลือดเข้มข้น PRP/ PRF ซึ่งมีสารช่วยกระตุ้น Growth factor การสร้างเส้นใจคอลลาเจนและอีลาสติน
ปัจจุบันมีการศึกษาการใช้หลายเทคนิคร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดียิ่งขึ้นครับเช่น
•Fractional CO2 Laser + Fractional RF
•Microdermabrasion + เกล็ดเลือดเข้มข้น PRP
•Ablative RF with topical retinoic acid cream เป็นต้น
หมอใช้เทคนิคการดูแลรอยแตกลายด้วยการใช้สองเลเซอร์ ซึ่งมีกลไกการกระตุ้นคอลลาเจนแตกต่างกัน Discovery Picosecond Laser จะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนด้วยการทำให้เกิดโพลง LIOB Laser induced optical breakdown ในชั้นผิว + Fractional Ablative Laser ซึ่งทำให้เกิดพลังงานความร้อน MTZ Microthermal Zones
การรักษารอยแตกลายต้องใช้เวลาและความอดทนในการรักษาและฟื้นฟูสภาพผิว และผลการดูแลขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคลด้วยนะครับ
J Am Acad Dermatol. 2017 Sep;77(3):559-568.e18.
Indian Dermatol Online J 2019;10:380-95.
การดูแลหลังการดูแลรักษาด้วยเลเซอร์
• ประคบเย็นบ่อยๆ ในวันแรก
• ทาครีมลดอาการแดงหนาๆ บ่อยๆ และทาครีมที่ชุ่มชื้นมากเป็นพิเศษ
• บำรุงผิวด้วยสกินแคร์ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน และห้ามใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของไวท์เทนนิ่ง หรือสารจำพวกกรดอ่อน
• ไม่ควรออกแดด หรือโดนแสงแดดโดยตรงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หากจำเป็นต้องออกที่แจ้งให้ป้องกันตัวเองจากแสงแดดด้วยการสวมแว่นตากันแดด สวมหมวก สวมเสื้อแขนยาว หรือกางร่ม เป็นต้น
• ทาครีมกันแดดที่ป้องกัน UVA และ UVB มีค่า SPF 40-50 เป็นประจำ หากมีกิจกรรมกลางแจ้ง แดดจัด แนะนำให้ทาครีมกันแดดซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง
Striae distensae (stretch marks/striae gravidarum) is one of the common cosmetic problems that can cause psychological distress and anxiety to patients due to its disfiguring damage, especially for women. The etiology of striae distensae is currently unknown, and risk factors include low maternal age, family history of stretch marks, excessive weight gain during pregnancy, and high neonatal weight. This article reviews the latest literature on the most commonly used, most popular, and novel treatment modalities and analyzes the hot spots and difficulties in striae distensae treatment in recent years. Topical treatment modalities are mainly used as an adjunctive treatment. Ablative lasers and non-ablative lasers are the most popular, among which picosecond has been tried in striae distensae treatment in the last two years. Combined treatment modalities are currently a hot spot for SD treatment, and microneedle radiofrequency and fractional CO2 laser combined with other treatments are the most common. Microneedle radiofrequency is the most commonly used and achieved therapeutic effect among the combined treatment modalities.
Stretch marks are one of the most common benign cutaneous lesions and encountered esthetic problems. Striae rubrae and striae albae can be differentiated on the basis of clinical appearance. Histologically, disturbances of the dermal fiber network and local expression of receptors for sexual steroids have been detected. The epidermal changes are secondary. Prevention of stretch marks using topical ointments and oils is debatable. Treatment of striae rubrae by lasers and light devices improves appearance. Microneedling and non-ablative and fractionated lasers have been used.
อ้างอิง References
Huang Q, Xu LL, Wu T, Mu YZ. New Progress in Therapeutic Modalities of Striae Distensae. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2022 Sep 30;15:2101-2115.
Kaewkes A, Manuskiatti W, Cembrano KA, Wanitphakdeedecha R. Treatment of abdominal striae distensae in Fitzpatrick skin types IV to V using a 1064-nm picosecond laser with a fractionated microlens array. Lasers Surg Med. 2022 Jan;54(1):129-137.
Cr:หมอรุจชวนคุย
https://youtu.be/oeHTKCPtjiY
https://youtube.com/shorts/7SGu8WCg-S8?feature=share
https://www.linkedin.com/posts/suparuj-lueangarun-6b8029b5_brfbrtbqxbrlbrubrfbrpbrebsjbrrbqxbrhbrubre-activity-7079117759099359232-RxLu?utm_source=share&utm_medium=member_ios
https://bit.ly/3u9cFWR
https://youtu.be/jeQ7yWgji7o
https://youtu.be/rTlYQNFS3eI
https://youtu.be/HhGZFqon7Vk
https://youtu.be/zy7KidMIrQo
https://youtu.be/3HPuqJuzBeQ
https://bit.ly/3zOm0Vt
https://youtu.be/EZhnC4cpH4k
https://bit.ly/3DxiB0J
https://youtu.be/f9VxfKZ-HDs
...
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com