Last updated: 4 ส.ค. 2567 | 312 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
รักแร้ดำเกิดจากสาเหตุอะไร & ดูแลอย่างไร ?
https://youtu.be/y6G9gHg1A9M?si=fQC70wbxAJs8rnUx
รักแร้ดำ Axillary Hyperpigmentation คือสภาพผิวใต้วงแขนที่มีสีเข้ม เห็นเป็นรอยปื้นดำ เกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้
***อย่างแรกและมีความสำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นผลของความผิดปกติของสุขภาพ ซึ่งต้องมองหาจะได้รีบให้การรักษาได้ตรงจุดที่สุดนั่นก็คือ ภาวะรักแร้ดำจากโรคผิวหนัง โดยจะพบเป็นรอยปื้นสีดำหนาที่ข้อพับ คอ รักแร้ ขาหนีบ เรียกว่าโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans, AN) มักเจอในคนที่มีภาวะอ้วนหรือมีอินซูลินสูง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีทำให้ผิวดำคล้ำขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานอีกด้วยครับ
(ภาวะ Acanthosis Nigrican) ครับ
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
https://youtu.be/Rcr9OKa4RvI?si=9Nzs4Hd64GsJ4_9K)
รักแร้ดำ AN ยังเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยด้านสุขภาพ มีรักแร้ดำนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือเป็นผลมาจากโรคต่างๆ ที่มีดังนี้
* โรคอ้วน
* โรคเบาหวานชนิดที่ 2
* โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
* โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
* โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจวายเรื้อรัง
* ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์หรือเข้าสู่วัยทอง
* ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด อินซูลิน
***อย่างแรกและมีความสำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นผลของความผิดปกติของสุขภาพ ซึ่งต้องมองหาจะได้รีบให้การรักษาได้ตรงจุดที่สุดนั่นก็คือ ภาวะรักแร้ดำจากโรคผิวหนัง โดยจะพบเป็นรอยปื้นสีดำหนาที่ข้อพับ คอ รักแร้ ขาหนีบ เรียกว่าโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans, AN) มักเจอในคนที่มีภาวะอ้วนหรือมีอินซูลินสูง ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีทำให้ผิวดำคล้ำขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานอีกด้วยครับ
(ภาวะ Acanthosis Nigrican ครับ https://youtu.be/Rcr9OKa4RvI?si=9Nzs4Hd64GsJ4_9K)
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
รักแร้ดำ AN ยังเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยด้านสุขภาพ มีรักแร้ดำนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือเป็นผลมาจากโรคต่างๆ ที่มีดังนี้
* โรคอ้วน
* โรคเบาหวานชนิดที่ 2
* โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
* โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
* โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจวายเรื้อรัง
* ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจากการตั้งครรภ์หรือเข้าสู่วัยทอง
* ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด อินซูลิน
สาเหตุอื่นๆเช่น
* เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แต่ไม่ได้ทำการผลัดเซลล์ผิวนั้นออก ทำให้ผิวใต้วงแขนดูหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส
* การเสียดสีของผิวหนังจากการสวมเสื้อรัดรูป หรือในผู้ที่มีน้ำหนักเกินทำให้ผิวรักแร้เกิดการเบียดเสียดเป็นเวลานาน จึงทำให้รักแร้ดำคล้ำขึ้นมาได้
* ระบบฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อเม็ดสีผิว ทำให้ผิวใต้วงแขนดำคล้ำขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ มักเกิดในผู้หญิงช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
* การกำจัดขนที่ผิดวิธี เช่น การโกนขนรักแร้ ทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองและอักเสบ
* การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว เช่น โรลออน สเปรย์ระงับกลิ่นกายที่มีส่วนผสมของสารเคมี น้ำหอมหรือแอลกอฮอล์ แล้วเกิดอาการแพ้ หรือระคายเคือง
* พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ได้มีการรักษาความสะอาด ไม่เคยขัดผิว ก็สามารถทำให้ผิวใต้วงแขนเกิดการสะสมของสิ่งสกปรก แบคทีเรีย เกิดความดำคล้ำขึ้นมาได้
การดูแลรักษา
•การผลัดเซลล์ผิวด้วยการ Scrub หมอจะไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ครับเนื่องจากการขัดมากเกินไปมีโอกาสทำให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดรอยดำหลังการอักเสบตามมาได้ Post Inflammatory Hyperpigmentation (PIH)
•การใช้สกินแคร์
ปัจจุบันมีครีมทารักแร้ขาวออกมาอย่างมากมายเลยครับส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของสารที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว หรือไวท์เทนนิ่ง เช่น วิตามินซี อาบูติน Niacinamide กรดวิตามินเอ azelaic acid เมื่อใช้แล้วจะช่วยเพิ่มความกระจ่างใส ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอกันมากขึ้น
ทั้งนี้ควรระวังครีมทารักแร้ที่มีส่วนประกอบของสารไฮโดรควิโนน สารปรอท โดยสารเหล่านี้ช่วยให้ผิวขาวขึ้นได้ไว แต่หากใช้ไปนาน ๆ อาจทำให้ผิวบางลงและคล้ำขึ้นมากกว่าเดิม ส่งผลเสียต่อผิวได้ในระยะยาวครับ
•ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อและระงับกลิ่นกาย
ผลิตภัณฑ์ลดเหงื่อและระงับกลิ่นกาย เช่น โรลออน สเปรย์ลดเหงื่อและระงับกลิ่นกาย อาจเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหารักแร้ดำได้ครับ หากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีส่วนผสมของสารเคมี น้ำหอม หรือแอลกอฮอล์ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวโดยเฉพาะในคนที่ผิวบางหรือมีผิวแพ้ง่ายแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน และปราศจากสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดระคายเคืองต่อผิวครับ
•การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) คือการลอกผิวที่ลงลึกไปจนถึงชั้นผิวหนังกำพร้า หรือชั้นหนังแท้ส่วนบน ด้วยการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วหลุดออกเพื่อที่จะได้กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่มาแทนที่
•ดูแลรักษาความสะอาดรักแร้อย่างสม่ำเสมอ
วิธีนี้ทำได้ไม่ยากเลยครับ เพียงดูแลรักษาทำความสะอาดผิวใต้วงแขนอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและปลอดภัยต่อผิว เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมเซลล์ผิวที่ตายไปแล้ว แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดรักแร้ดำ อาการคัน รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์
และสามารถใช้โลชั่นบำรุงผิวที่อ่อนโยนต่อผิว หรือว่านหางจระเข้ เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยให้ผิวแข็งแรงและมีสุขภาพดีไปในตัว
•เลเซอร์รักษารักแร้ดำ
ปัจจุบันการแก้ปัญหารักแร้ดำด้วยการเลเซอร์ได้รับความนิยมมากครับ เพราะสะดวกรวดเร็ว เห็นผลได้ค่อนข้างไว
* เลเซอร์รักแร้ขาว หรือเลเซอร์ปรับสีผิว เช่น Qs NdYAG หรือ Picosecond Laser ช่วยลดรอยดำ ความหมองคล้ำให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น มีให้เลือกหลายพลังงาน โดยการศึกษาอาจต้องทำหกถึงแปดครั้งห่างกันเดือนละครั้งครับ
* เลเซอร์ขนรักแร้ หากใครที่กำจัดขนด้วยวิธีการโกน การถอนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รักแร้ดำ แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้วิธีเลเซอร์ขนถาวรแทนครับ เป็นวิธีกำจัดขนที่มีความอ่อนโยนต่อผิว เห็นผลได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ไม่ทำให้เกิดการอักเสบ และไม่เกิดแผล หรือขนคุดตามมาภายหลัง
โดยหลังเลเซอร์ขน ขนจะเริ่มร่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ แนะนำให้ทำอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ 1-2 เดือน ขนจะเส้นบางลง และมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ จนหายไปเกือบหมดครับ ช่วยให้ผิวรักแร้ดูกระจ่างใส และมีความเรียบเนียนมากขึ้นครับ
สำหรับใครที่มีปัญหารักแร้ดำคล้ำจากการเสียดสีของผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป แนะนำให้ออกกำลังกาย ลดสัดส่วน เพื่อช่วยลดการเสียดสีของผิวหนังใต้รักแร้ ทั้งยังช่วยลดอาการของโรคผิวหนังช้าง และเป็นผลดีต่อสุขภาพ
Axillary hyperpigmentation is a frequent cause of cosmetic consultations in dark-skinned women from tropical areas, including Latin America. Currently, there is no widely accepted treatment for the disorder, but it is usually treated with bleaching agents because it is considered a variant of inflammatory hyperpigmentation.
Axillary hyperpigmentation is a frequent dermatological problem in Latin-American females, although its exact frequency is unknown. Histopathologically, it is characterized by an increase in melanocytic activity and melanin deposits in both the epidermis and dermis, as well as an inflammatory infiltrate composed primarily of mononuclear cells and macrophages. These findings support the theory of axillary hyperpigmentation being a type of post-inflammatory hyperpigmentation, where the precipitating factors could be related to continuous irritation due to hair removal, cleansing, tight clothes, or use of antiperspirants. The higher prevalence of axillary hyperpigmentation in darker-skinned phototypes could also be related to specific innate traits in this group.These features may include the presence of genetically labile melanocytes that are easily destroyed by trauma and inflammation and/or an enhanced response to inflammatory stimuli with increased activity.
Treatment of post-inflammatory hyperpigmentation is difficult and prolonged. Prevention and treatment of the underlying inflammatory condition are the first steps, followed by depigmenting interventions. Topical treatments used in post-inflammatory hyperpigmentation include hydroquinone (alone or in combination with other agents), mequinol, retinoids, azelaic acid, chemical peels, and light-based procedures. There are other topical treatments known for their depigmenting properties, including kojic acid, arbutin, niacinamide, and N-acetyl glucosamine, but none of these have been studied in post-inflammatory hyperpigmentation.
Reference อ้างอิง
Castanedo-Cazares JP et al.Topical niacinamide 4% and desonide 0.05% for treatment of axillary hyperpigmentation: a randomized, double-blind, placebo-controlled study. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2013;6:29-36. doi: 10.2147/CCID.S39246.
Das A, Datta D, Kassir M, Wollina U, Galadari H, Lotti T, Jafferany M, Grabbe S, Goldust M. Acanthosis nigricans: A review. J Cosmet Dermatol. 2020 Aug;19(8):1857-1865. doi: 10.1111/jocd.13544. PMID: 32516476.
J Cosmet Dermatol. 2021 Sep;20(9):2785-2793. doi: 10.1111/jocd.13981. Epub 2021 Feb 15. PMID: 33550634.
Ghannam S, Al Otabi FK, Frank K, Cotofana S. Efficacy of Low-Fluence Nd:YAG 1064 nm Laser for the Treatment of Post-Inflammatory Hyperpigmentation in the Axillary Area. J Drugs Dermatol. 2017 Nov 1;16(11):1118-1123. PMID: 29141060.
Cr:หมอรุจชวนคุย
รักแร้ดำ ,เลเซอร์รักแร้ดำ ,acanthosisnigrican ,picosecondlaser ,peeling,dr.suparuj ,demedclinic
,หมอรุจชวนคุย
https://x.com/drsuparuj/status/1819438424493117615?s=46&t=4qYp2uAwziMgaMmgVGnMyQ
https://s.lemon8-app.com/s/xkMdcFFrQR
https://vt.tiktok.com/ZSYKKuqHn/
https://shorturl.at/hwEN6
https://youtu.be/Rcr9OKa4RvI?si=9Nzs4Hd64GsJ4_9K
https://youtu.be/y6G9gHg1A9M?si=fQC70wbxAJs8rnUx
....
..
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com