Last updated: 4 มิ.ย. 2566 | 4566 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
แนะนำการดูแลปัญหาโรคผิวหนัง: โรค Lichen amyloidosis ไลเค่น อะไมลอยโดซิส มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร ? https://youtu.be/ZFTPAzRyNMg
Lichen amyloidosis เป็นโรคที่มีการสะสมของสารโปรตีนชนิดหนึ่ง คือ Amyloid สะสมใต้ผิวหนังในชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดอาการเป็นตุ่มแข็งๆ สีน้ำตาลแดง มีอาการคัน พบได้บ่อยที่หน้าแข้งทั้ง 2 ข้าง และอาจพบได้ที่เท้า, ต้นขา
การรักษาโรคนี้ค่อนข้างเรื้อรังและตอบสนองไม่ค่อยดีเท่าที่ควร วิธีการักษาที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
- การใช้ยารับประทานลดอาการคัน
- การใช้ยากลุ่ม Steroid, การฉีดยา Steroid ที่รอยโรค
- การใช้ยาทา dimethyl sulfoxide (DMSO)
- การใช้ยาทากลุ่มวิตามิน A (topical retinoid)
- อื่นๆ เช่น การทำ Laser, dermabrasion, excision
ผลการดูแลขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคลด้วยนะครับโดยภาวะนี้เป็นภาวะที่รักษายาก
โรค Lichen amyloidosis ไลเค่น อะไมลอยโดซิส มีลักษณะ ผิวหนังพบบ่อยบริเวณหน้าแข้งมีการหนาตัวขึ้น ลักษณะเป็นตุ่มนูน ***เรียงกันคล้ายกับสร้อยลูกปัด rippled pattern***
•โดยตุ่มนูนจะอยู่ระหว่างรูขุมขน มีอาการคันบ้าง แต่ไม่รุนแรง ลูบๆก็ทุเลาลง
ชื่อโรค Lichen amyloidosis อาจจะฟังดูไม่คุ้นแต่ในความเป็นจริงสามารถ พบได้บ่อย ในชาวเอเชีย เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผิวของเรา การเกิดขึ้นของโรคนี้บางครั้งมีปัจจัยกระตุ้น บางครั้งอาจไม่พบ
ฟ•แต่ส่วนใหญ่เหตุกระตุ้นที่พบได้บ่อยคือการเสียดสีที่บริเวณนั้นบ่อยๆ เช่นการ เกา การถู ดังนั้นน บริเวณที่พบโรคนี้ได้บ่อยมักเป็นที่หน้าแข้งเนื่องจากเราต้องใส่การเกง ถุงเท้า ถุงน่อง กันเป็นประจำ
การเสียดสีซ้ำไปซ้ำมาจะเป็นตัวการทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ผิวหนัง (keratinocyte) เมื่อเกิดการตายของเซลล์ผิวหนัง มันจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นใยโปรตีนออกมา(คล้ายกับที่เวลาเราล้มเป็นแผลถลอกแล้วมีการสร้างสะเก็ดแผล) แต่กระบวนการสร้างโปรตีนนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนผิดรูป เส้นใยโปรตีนจึงไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ต้องทิ้งสถานเดียว แต่เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่ได้มาตรฐาน กลไกการขับออกจากร่างกายจึงบกพร่อง กลับกลายเป็นสะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นตุ่มนูนหนา คล้ายผื่นขึ้นมาแทน การสะสมของโปรตีนใต้ผิวหนังจะไปรบกวนปลายประสาททำให้เกิดอาการคันขึ้นได้ด้วย
-โดยส่วนใหญ่คนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะรำคาญและอาการคันและลักษณะผื่นที่ดูเหมือนสกปรก
-โดยคนไข้จะพยายามขัดถูผิวบริเวณนี้เป็นประจำเพื่อให้ผื่นหลุดออกไป แต่กลับกลายเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสียดสีมากขึ้น ผื่นจึงเป็นมากขึ้น
✅ดังนั้นการดูแลรักษาจึงจำเป็นต้องปรับความเข้าใจในการดูแลรักษาผิว ครับโดยงดขัดถูแกะเกา***
✅และต้องทาครีมให้ความชุ่มชื้น moisturizer ผิวเยอะๆดลยครับ***
การรักษา
-ที่ทำให้อาการดีขึ้นได้ (คันลดลง ผื่นเรียบลง) มีหลายวิธี การตอบสนองขึ้นกับแต่ละบุคคลและควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรักษา
-แต่ผลการรักษา รักษาค่อนข้างยากและมีโอกาสเป็นซ้ำบ่อยถ้ายังมีการแกะเก่าอยู่ครับ*
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
•การรักษามีทั้งที่ใช้ยาทา ผลัดเซลล์ผิว Peeling ฉายแสง ไปจนถึงการใช้เลเซอร์หลายชนิดครับ
และที่สำคัญคืองดเกาขัดถูครับ
-การทายา topical steroid หรือยาทาสเตียรอยด์ จะช่วยลดอาการคันได้รวดเร็ว แต่การทาควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา เพื่อปรับความแรงตามความหนาหรืออาการของโรค หากทายาผิดวิธีจะมีผลข้างเคียงได้ครับ
-การทายา กลุ่ม calcinurin inhibitors
-การใช้ยาทากลุ่มที่ทำให้เกิดการผลัดผิว เช่น salicylic acid
-การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรด Chemical Pelling ในรพ. บางที่อาจมีการทายาด้วย TCA เปอร์เซนต์สูง ที่มีใช้เฉพาะในรพ. เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ครับ https://youtu.be/M-1Fd3Ex7a4
หมอมีคลิปการดูแลผื่น Lichen amyloidosis ด้วยการผลัดเซลล์ผิว Peeling มาฝากครับ https://bit.ly/35k1yAa
-ในคนที่เป็นมากและมีอาการคันมาก ทายาแล้วไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา การฉายแดดเทียม (ฉายด้วยแดด UVB) หรือการรับประทานยา กลุ่มวิตามินเอ
-การใช้เลเซอร์ เช่น Fractional Laser, Fractional CO2 Laser, Picosecond Laser โดยการใช้เลเซอร์มักเป็นการรักษาเสริมนะครับ
งานวิจัย โดย ผศ. นพ. ศุภะรุจ (หมอรุจ) และ รศ. นพ. เทอดพงศ์ เกี่ยวกับการรักษาโรคผิวหนัง Lichen amyloidosis ด้วย Picosecond Laser ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติครับ
Suparuj Lueangarun & Therdpong Tempark(2021) Efficacy of 1064-nm Nd:YAG picosecond laser in lichen amyloidosis treatment: clinical and dermoscopic evaluation, Journal of Cosmetic and Laser Therapy, DOI: 10.1080/14764172.2021.1975756
https://www.tandfonline.com/doi/figure/10.1080/14764172.2021.1975756?scroll=top&needAccess=true
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34493149/
อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีรักษาขึ้นกับอาการผู้ป่วย ดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ และอย่าลืมหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เป็นมากขึ้นครับ
Lichen amyloidosis (LA) is a common form of primary cutaneous amyloidosis. It usually presents as persistent, pruritic, hyperkeratotic papules that may coalesce to form gray-brown plaques, on the shins or other extensor surfaces of the extremities. The condition is resistant to treatment and various treatment modalities such as electrodessication, dermabrasion, pulsed dye laser and frequency-doubled Q-switched Nd: YAG laser have been previously tried with variable therapeutic response.
While there are various treatment modalities for LA but the response is not satisfactory and the condition recurs frequently. Potent topical corticosteroids (under occlusion), topical calcineurin inhibitors, topical dimethyl sulfoxide (DMSO), intralesional corticosteroids, PUVA and UVB phototherapy, systemic retinoids, low-dose cyclophosphamide, cyclosporine have been used for medical management of LA. The physical modalities of treatment such as electrodessication, dermabrasion, pulsed dye laser and frequency- doubled Q-switched Nd: YAG laser where epidermis and part of the papillary dermis along with some of the amyloid was removed permitting re-epithelialization to occur from adnexal structures have been reported to be effective in the treatment of LA.
The procedure depends on the patient and doctor’s technique . The result of treatment vary according to patient.
Cr:หมอรุจชวนคุย
https://bit.ly/3rTmdTu
https://bit.ly/3o2ZwuP
https://bit.ly/3CSQUfk
https://youtu.be/M-1Fd3Ex7a4
https://youtu.be/Cyy0WqaMoA8
https://bit.ly/3zNZMB6
https://www.facebook.com/454651174702057/posts/2039561372877688/
https://bit.ly/3PRMzju
https://youtu.be/ZFTPAzRyNMg
...
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com