ปาน birthmark แต่กำเนิดที่พบบ่อย & แนวทางการดูแล

Last updated: 15 มี.ค. 2567  |  649 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปาน birthmark แต่กำเนิดที่พบบ่อย & แนวทางการดูแล

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ปาน birthmark แต่กำเนิดที่พบบ่อย & แนวทางการดูแล

ปาน (Birthmarks) คือ ร่องรอยของจุดสีบนผิวหนังที่มักปรากฏขึ้นเมื่อแรกคลอดหรือหลังคลอดได้ไม่นาน โดยลักษณะของปานจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ลักษณะเรียบและนูน ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ไปจนถึงสีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ บางคนอาจพบว่ารอยปานค่อย ๆ หายไปเองเมื่อโตขึ้น ในขณะที่บางคนอาจมีรอยปานไปตลอด

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 


ลักษณะของปานจะสามารถแบ่งออกได้คร่าว ๆ เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ปานแดง และปานดำ โดยสาเหตุของการเกิดปานแดง หรือบางคนอาจเป็นสีออกชมพู หรือม่วง มักจะเกี่ยวข้องกับลักษณะของหลอดเลือดที่ผิดปกติ ส่วนปานดำ หรือในบางคนที่เป็นสีออกน้ำตาล น้ำเงิน หรือน้ำเงินเทา สาเหตุของปานกลุ่มนี้มักจะเกี่ยวข้องกับเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้นผิวที่มากเกินไป

ปานแต่กำเนิด Birthmark คือ ความผิดปกติของสีผิว และหรือความผิดปกติของความเรียบเนียนของผิวซึ่งพบในทารกแรกเกิดหรือในช่วงอายุขวบปีแรก
• ปานมีหลายชนิด และเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์ผิวหนัง หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองและกล้ามเนื้อ

• ทางการแพทย์มักแบ่งประเภทของปานไปตามชนิดของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์สร้างเม็ดสีหลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ เป็นต้น ปานบางชนิดจะสามารถหายไปได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการรักษา ใด ๆ บางชนิดมีอาการคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง หรือบางชนิดอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ปานบางชนิดสามารถพบร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม ปานที่พบได้บ่อย ได้แก่


ปานมองโกเลียน (Mongolian spot ) พบบ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นราบสีเขียว ฟ้าเทา หรือน้ำเงินเข้ม บริเวณก้นและสะโพก แต่อาจพบที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น แขน ขา หลัง ไหล่ หนังศีรษะ ปานชนิดนี้จะค่อย ๆ จางหายไปเมื่อเข้าสู่วัยเด็กตอนต้น ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษา


ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม สีเขียว สีฟ้าเทา หรือสีน้ำเงินที่ค่อยขยายขนาดขึ้นตามอายุ จนกลายเป็นปื้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีปานโอตะที่เกิดขึ้นในบริเวณตาขาวด้วย ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะตรวจพบความผิดปกติของความดันลูกตาในข้างเดียวกับปานที่มีอยู่ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะพัฒนาไปเป็นโรคต้อหินและทำให้ตาบอดได้ ปานโอตะที่ผิวหนังตอบสนองต่อการรักษาด้วยเลเซอร์ดีมาก
ปานสีกาแฟใส่นม (Café au lait macule ) มีลักษณะเป็น ผื่นราบสีน้ำตาลอ่อน ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดหรือภายในอายุ 2-3 เดือน มักจะมีรูปร่างกลมหรือรี ขอบเขตค่อนข้างชัดเจน จะขยายขนาดขึ้นตามการเจริญเติบโต และจะคงอยู่ตลอดชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่พบมีความผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกายร่วมด้วย แต่หากผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้จำนวนมากหรือมีขนาดใหญ่ อาจพบมีโรคพันธุกรรมบางชนิดได้ ดังนั้นหากพบปานขนาดใหญ่หรือมีหลายอัน ควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม


ปานแดงชนิด (Port-wine stains) มีลักษณะเป็นปื้นแดงที่มักปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิด และจะคงอยู่ตลอดชีวิตไม่จางหายไป รอยโรคจะขยายขนาดโตตามตัวของผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ปานจะมีสีเข้มขึ้น รวมทั้งอาจนูนหนาและขรุขระเพิ่มขึ้น ตามอายุที่มากขึ้น หากพบปานชนิดนี้บริเวณใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา อาจพบร่วมกับความผิดปกติของดวงตาและสมองได้ จึงควรพาบุตรหลานของท่านไปพบแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป ปานแดงชนิดนี้สามารถรักษาโดยใช้เลเซอร์ได้ ซึ่งการตอบสนองต่อการรักษาขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค การเริ่มการรักษาด้วยเลเซอร์ในเด็กจะได้ผลการรักษาดีกว่าในผู้ใหญ่และใช้จำนวนครั้งในการรักษาน้อยกว่า

เนื้องอกหลอดเลือดในเด็ก (Hemangioma) พบความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก (ประมาณร้อยละ 5 ในทารกแรกเกิด และร้อยละ 5-10 ในเด็กอายุ 1 ปี) พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย บางรายอาจพบมีจุดหรือปื้นสีแดงนำมาก่อนแล้วค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น ลักษณะของปานที่พบบ่อย จะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวขรุขระ ซึ่งก้อนเนื้องอกชนิดนี้จะมีขนาดโตขึ้นภายในช่วงอายุ 6-9 เดือนแรกของชีวิต ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่มีปานชนิดนี้ก้อนจะค่อย ๆ ยุบลงได้เอง ภายหลังอายุ 5 ปี ภายหลังก้อนสีแดงนี้ยุบลง อาจหลงเหลือความผิดปกติของผิวหนังบริเวณดังกล่าวได้

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 

https://bit.ly/3d8vYr1 


การรักษาปาน
ปานบางชนิดเป็นปานที่เกิดขึ้นชั่วคราวและหายไปเองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ส่วนในกรณีปานชนิดถาวร หากผู้ที่มีปานต้องการรักษาให้ปานหายไป แพทย์จะต้องตรวจดูก่อนว่า รอยปานดังกล่าวเป็นเนื้อเยื่อบริเวณใด เพื่อใช้ในการพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งก็มีทั้งการผ่าตัดศัลยกรรม การเลเซอร์ และการใช้รังสี
ทั้งนี้ ปานบางชนิดอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับลักษณะของปาน

https://youtu.be/nOlKS9YlJpA?si=rgGnubEiALVUD46Z 
https://youtube.com/shorts/MB867xTymXY?si=wukL0YqwWEykc03I 
https://youtube.com/shorts/e6XsbSIMMLA?si=rZPsLWyLpqEuT-Z5

http://line.me/ti/p/@Demedclinic 

...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic 
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj 
www.facebook.com/drsuparuj 
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE 
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1 
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/ 
https://mobile.twitter.com/drruj1 
www.demedclinic.com  / www.demedhaircenter.com 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้